หอกังสดาล (Metal Gong Tower)


Metal Gong
Tower

Metal Gong tower in the inscription was referred to as “Hor La Kangsadan” located on north side of Royal Vihara or northeast side of Buddha’s relic Chedi. Its original shape was short wooden posts with a piece of wood lying on two posts. This wooden stick was used to hit the Gong. Later, two posts were changed with concreting and the large round bell which Lanna people called it “Kangsadan” was hung. This round bell was molded in 1870 in the reign of 4th king. The molder was a revere monk from Prae City named “Master MahapaKanchana” from WatSungmen. The molding place was Wat Phrasing Chiang Mai as offering to Phratha tLuangLamphun. So, it was named as “Three-city Bell Tower”
Later, the posts where the bell was hung were worn out, so they were removed and the new Bell tower was constructed as appeared in present. It was the location of HorPhranak which was originally the location of HorPhrakaewKhao in Hariphunchai era.

This bell tower later became the remarkable symbol of Wat Phrathat Hariphunchai. The objectives of hitting the Gong or Kangsadan was different from general temples. Hitting bells that were placed orderly was to give signal for spirits of predecessors to receive merit. However, hitting Kangsadan would be in important ceremonies only such as giving signal while welcoming personage traveling to this temple or the consoling ceremony of Royal Nak etc.

 

 หอกังสดาล

           หอกังสดาล หรือหอระฆังซึ่งในจารึกเขียนว่า หอหละกังสะดาน  ตั้งอยู่ด้านทิศเหนือของวิหารหลวง หรือทางทิศตะวันออกฉียงเหนือของพระบรมธาตุเจดีย์  เดิมมีรูปทรงเป็นเสาไม้เตี้ยๆสองต้นมีไม้ท่อนหนึ่งวางพาดอยู่ ไม้ท่อนนี้คือไม้สำหรับใช้ตีฆ้อง  ต่อมาเสาเปลี่ยนเป็นก่ออิฐฉาบปูน ๒ ต้น แขวนระฆังแผ่นกลมหรือชาวล้านนาเรียกว่า  “กังสดาร” ขนาดใหญ่ไว้ ซึ่งหล่อขึ้นราว พ.ศ.๒๔๑๓ สมัยราชการที่ ๔ โดยผู้หล่อเป็นพระผู้ใหญ่จากเมืองแพร่               ชื่อ “ครูบามหาป่ากัญจนะ” จากวัดสุ่งเม่น(สูงเม่น) ใช้สถานที่หล่อ ณ วัดพระสิงค์เชียงใหม่ แต่ถวายแด่พระธาตุหลวงลำพูน จึงได้รับฉายาว่า “หอระฆังสามนคร” ต่อมาเสาที่แขวนกังสดาลชำรุดลง ภายหลังจึงมีการรื้อถอนและสร้างหอกังสดาลขึ้นใหม่ดังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน โดยใช้สถานที่หอพระนาคซึ่งเดิมในสมัยหริภุญชัยเป็นที่ตั้งของหอพระแก้วขาว

           หอกังสดาลรูปแบบปัจจุบันสร้างโดยพระครูพิทักษ์เจติยานุกิจ หรือครูบาคำฟู เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๑ โดยใช้เงิน ๑๘๐ รูปี เป็นอาคารโล่งสูง ๒ ชั้น       มีทางขึ้นหันสู่ทิศตะวันตกเพื่อแสดงความสักการะแด่พระบรมธาตุหริภุญชัย ชั้นบนแขวนระฆังที่หล่อสมัยเจ้าหลวงดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ ๗ (พ.ศ.๒๔๑๔-๒๔๓๑) แต่เดิมระฆังเคยแขวนอยู่ใต้หอทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพระวิหารหลวง ณ บริเวณหอกลองเภรี ปัจจุบันส่วนล่างแขวนฆ้องหรือกังสดาลขนาดใหญ่ หลายท่านอาจเชื่อว่าน่าจะเป็นกังสดาลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ใช้ทองสำริดหนักถึง ๗๒๙,๐๐๐ ตำลึง หล่อสมัยเจ้า กาวิโลรสสุริยวงค์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๖ (พ.ศ.๒๓๙๙-๒๔๑๓) โดยครูบาเฒ่า แห่งวัดสูงแม่นเมืองแพร่ หรือ ครูบากัญจนะ สถานที่หล่อคือวัดพระสิงห์ มีจารึกอักษรไทล้านนาแบบฝักขาม ปรากฏอยู่บนกังสดาล ระบุถึงปีวอก โทศกจุลศักราช ๑๒๒๒ อันตรงกับ พ.ศ.๒๔๐๓ อยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๔หอกังสกาลแห่งนี้ต่อมาได้กลายเป็นสัญลักษณ์อันโดดเด่นของวัดพระธาตุหริภุญชัย

วัตถุประสงค์ของการลั่นฆ้องหรือกังสดาลนั้นต่างจากการตีระฆังวัดทั่วไป การตีที่วางเรียงรายหลายใบเป็นการส่งสัญญาณบอกบุญให้แก่วิญญาณบรรพบุรุษผู้ล่วงลับให้มารับบุญนั้น แต่การลั่นกังสดาล จะใช้เฉพาะในพิธีกรรมสำคัญเท่านั้น เช่น ให้สัญญาณขณะต้อนรับบุคคลสำคัญที่กำลังเดินทางมาถึงวัดนี้  หรือใช้ทำพิธีรับขวัญนาคหลวง  เป็นต้น