หยิบยืมมาใช้ หลากหลายภาษา เรียนรู้สืบมา สรรสร้างนานาคำ ภาษาต่างประเทศที่มีใช้ในภาษาไทย ภาษาไทยมีคำยืมมาจากภาษาต่างประเทศหลายภาษา เช่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาเขมร ภาษาชวา ภาษาละติน เป็นต้น ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและมาตรฐานสากล โดยการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมประเทศของสมาชิกสมาคมอาเซียนและภาษาที่สามารถสื่อสารกันในสากลโลก ดังนั้นการหลั่งไหลของภาษาต่างๆ ที่จะเข้ามาปะปนในภาษาไทยก็จะเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้นักเรียนส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับรากศัพท์ของคำแต่ละคำที่เรียนว่ามีที่มาจากภาษาใด เพราะคำในภาษาไทยที่ใช้ในปัจจุบันนั้นมีที่มาจากหลายภาษา ไม่ได้เป็นคำไทยแท้ทั้งหมด และภาษาแต่ละภาษามีโครงสร้างภาษาที่แตกต่างกันหรือคล้ายคลึงกันทำให้นักเรียนส่วนใหญ่เกิดความสับสนและจำแนกคำที่มาจากภาษาต่างประเทศไม่ได้ การสื่อสารในชีวิตประจำวันมักจะมีการใช้คำที่มาจากภาษาต่างประเทศปะปนอยู่กับการใช้ภาษาไทยในการสื่อสารบ่อยครั้ง โดยที่ผู้ใช้ไม่รู้ตัว ซึ่งคำศัพท์ที่มาจากต่างประเทศนั้นปะปนอยู่กับการใช้ภาษาไทยในการสื่อสารบ่อยครั้ง โดยที่ผู้ใช้ไม่รู้ตัว เมื่อแต่ละชาติ มีการติดต่อสัมพันธ์กัน จึงเป็นเรื่องปกติวิสัยที่จะมีการหยิบยืมภาษาของชาติอื่นมาเข้ามาปะปน การนำคำหรือลักษณะ ทางภาษาของอีกภาษาเข้าไปใช้ในภาษาของตนย่อมเกิดขึ้น การยืมคือการ ที่ภาษาหนึ่งนำเอา คำหรือลักษณะทางภาษาของอีกภาษาหนึ่ง เข้าไปใช้ในภาษาของตนเอง ภาษาไทยได้มีการยืมคำจากภาษาอื่นมาใช้ปะปนอยู่มากมายตั้งแต่โบราณกาล การศึกษาเรื่องคำที่มาจากภาษาต่างประเทศจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัว เพราะจะทำให้จำแนกคำที่มาจากภาษาต่างประเทศที่ปะปนในภาษาไทยได้ถูกต้องและนำไปใช้ สื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม ข้อสังเกตคำที่มาจากภาษามลายู ข้อสังเกตคำที่มาจากภาษาชวา ข้อสังเกตคำที่มาจากภาษาเขมร ข้อสังเกตคำที่มาจากภาษาอังกฤษ ข้อสังเกตคำที่มาจากภาษาจีน ข้อสังเกตคำที่มาจากภาษาสันสกฤต ข้อสังเกตคำที่มาจากภาษาบาลี