ซุ้มโขง หรือประตูโขง (Khong Arch or Khong Door)

Khong Arch or Khong Door

 
It was the temple arch in four sides. In the past, Ancient India constructed 4 arches covering Satupa referred to as “Torana” but later in Kupta kingdom and after this, many religious places of both Buddhism and Brahmanism created “Kopura” as large arch with purpose to show direction of entrance to the temple or place of worship which influenced arts of Khmer and Hariphunchai.  Khong Arch had symbolic meaning that it was relationship between buildings inside and outside religious places. Khong Arch acted like “media” bringing happiness and peace and it blocked between unrest outside and peace inside. It is the area where visitors had to change behaviors to be calm and appropriate.

 

ซุ้มโขง หรือประตูโขง

เป็นประตูกำแพงวัดที่ทำเป็นซุ้มโค้งสี่ด้าน ในอดีตยุคอินเดียโบราณซุ้มประตูสี่ทิศอบสถูป เรียกว่า “โตรณะ” ต่อมาสมัยคุปตะและหลังคุปตะ ศาสนาสถานทั้งของพุทธและพราหมณ์มีการทำ “โคปุระ” เป็นซุ้มขนาดใหญ่ใช้บอกเขตทางเขตหรือเทวาลัย ซึ่งส่งอิทธิพลมาถึงศิลปกรรมของขอมและหริภุญชัย ซุ้มโขงมีความหมายทางลักษณ์แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างอาคารภายในเขตศาสนสถานและบริเวณรอบนอก การสร้างวัดในอุษาคเนย์ใช้แกนด้านทิศตะวันออกเป็นทิศหลักมีศูนย์กลางที่พระธาตุเจดีย์หมายถึงแกนจักรวาล ซุ้มโขงที่อยู่ทางด้านหน้าของแนวแกนจึงหมายถึง ทางเข้าสู่จักรวาล การตกแต่งซุ้งโขงด้วยลวดลายปูนปั้นวิจิตรพิสดาร ด้วยลายเครือเถาและสัตว์ในจินตนาการมีคติหมายถึง ป่าหิมพานต์เป็นป่าแห่งความอุดมสมบูรณ์ การลอดผ่านซุ้มผ่านป่าหิมพานต์จึงมีนัยแฝงถึงการกำลังได้เข้าสู่ภพที่ดี นั้นคือ การได้เข้ามาทำบุญในวัด เป็นตัดเรื่องราวความไม่สบายใจ ให้วางไว้ก่อนที่จะลอดซุ้มโขงเข้าไป ซุ้มโขงจึงทำหน้าที่เสมือนสื่อ นำพาไปสู่ความสงบสุขทำหน้าที่เป็นตัวกั้นระหว่างความไม่สงบภายนอกกับความไม่สงบภายใน เป็นขอบเขตที่ทำให้ผู้ที่เข้าไปภายในวัดต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองให้มีความสำรวมและเหมาะสม อีกนัยหนึ่งหน้าที่ของซุ้มโขงนอกจากจะเป็นเขตบอกทางเข้าศาสนาสถานแล้ว ยังทำหน้าที่เสมือนหอเทพหรือวิมารสิงสถิตของผีบรรพบุรุษ อันเป็นลัทธิดั้งเดิมที่ชาวล้านนาเคยนับถือก่อนหน้าที่จะเป็นพุทธศาสนิกชน กำแพงแก้วของวัด ในตำนานระบุว่าพระเจ้าติโลกราชโปรดให้สร้างซุ้มโขงประตูเพียงสามด้าน คือ ตะวันออก เหนือ และใต้ แต่ปัจจุบันเหลือซุ้มโขงไม่ครบสามทิศ กล่าวคือทิศเหนือไม่เหลือร่องรอยเดิม ในขณะที่ทางทิศใต้พบซุ้มโขงระบุชื่อว่า “ประตูทักษิณสีหกร” มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่ลดรูปลงไม่ตกแต่งอย่างอลังการเหมือนป่าหิมพานต์ของซุ้มโขงด้านทิศตะวันออก