1.ภาษาบาลีมีสระ ๘ ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
2.ภาษาบาลีมีพยัญชนะ ๓๓ ตัว แบ่งตามฐานที่เกิดได้ดังนี้
ก. พยัญชนะวรรคมี ๒๕ ตัว ได้แก่
พยัญชนะวรรค/ฐาน |
ตัวที่ 1 |
ตัวที่ 2 |
ตัวที่ 3 |
ตัวที่ 4 |
ตัวที่ 5 |
วรรคที่ 1 ฐานคอ |
ก |
ข |
ค |
ฆ |
ง |
วรรคที่ 2 ฐานเพดาน |
จ |
ฉ |
ช |
ฌ |
ญ |
วรรคที่ 3 ฐานปุ่มเหงือก |
ฎ |
ฐ |
ฑ |
ฒ |
ณ |
วรรคที่ 4 ฐานฟัน |
ต |
ถ |
ท |
ธ |
น |
วรรคที่ 5 ฐานริมฝีปาก |
ป |
ผ |
พ |
ภ |
ม |
ข. เศษวรรคมี 8 ตัว ย ร ล ว ส ห ฬํ °
3.ภาษาบาลีไม่มี ศ ษ
4. คำทุกคำในภาษาบาลีจะต้องมีตัวสะกดและตัวตาม เช่น วัฑฒนา ฑ เป็นตัวสะกด ฒ เป็น
ตัวตามตัวสะกดและตัวตามในภาษาบาลีจะเป็นไปตามกฎดังนี้
ก. พยัญชนะวรรคที่เป็นตัวสะกดได้ คือ ตัวที่ 1 3 5
ข. ในวรรคเดียวกันถ้าพยัญชนะตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 1 2 ตามได้
ค. ในวรรคเดียวกันถ้าพยัญชนะตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 3 4 ตามได้
ง. ในวรรคเดียวกันถ้าพยัญชนะตัวที่ 5 สะกด พยัญชนะทุกตัวในวรรคเดียวกันตามได้
ตัวอย่าง
ตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 1 ตาม เช่น สักกะ
ตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 2 ตาม เช่น ทุกข์
ตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 3 ตาม เช่น อัคคี
ตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 4 ตาม เช่น พยัคฆ์
ตัวที่ 5 สะกด ตามได้ทุกตัว เช่น องก์ สังข์ สงฆ์ สัญญา